AEC ประชาคมอาเซียน : ประเทศบรูไน
AEC ปรเทศบรูไน
ประเทศบรูไน
เมืองหลวงของประเทศ บันดาร์เซอรีเบอกาวัน (มลายู: Bandar Seri Begawan, بندر سري بڬاوان) เป็นเมืองหลวงและเมืองท่าที่สำคัญของประเทศบรูไนดารุสซาลาม อยู่ในเขตการปกครองบรูไน-มัวรา มีประชากรประมาณ 60,000 คน เดิมชื่อว่า เมืองบรูไน ภายหลังเมื่อบรูไนพ้นจากการเป็นเมืองขึ้นในลักษณะแบบคุ้มครองของอังกฤษแล้ว จึงเปลี่ยนชื่อมาเป็นบันดาร์เซอรีเบอกาวัน
พื้นที่ของประเทศ 5,765 ตร.กม
.
จำนวนประชากรของประเทศ 423,196

ภาษาประจำชาติ ภาษามลายู


สกุลเงิน ดอลลาร์บรูไน ถือกำเนิดใน ค.ศ. 1967 มีการแบ่งหน่วยย่อยเป็น 1 ดอลลาร์ เท่ากับ 100 เซนต์ อัตราแลกเปลื่ยนเท่ากับดอลลาร์สิงคโปร์ บรูไนกับสิงคโปร์ลงนามตกลงอัตราค่าเงินในปี ค.ศ. 1967 ในอดีตบรูไนใช้หอยเบี้ยในการแลกเปลี่ยนสินค้าแทนเงิน ต่อมาผลิตเหรียญดีบุกเป็นเงินใน ค.ศ. 1868 พัฒนาขึ้นเป็นเหรียญ 1 เซนต์ในอีก 20 ปีต่อมา เหรียญนั้นมีค่า 1 ส่วน 100 ของ 1 ดอลลาร์ช่องแคบ ในวันที่ 12 มิถุนายน ค.ศ. 1967 บรูไนออกใช้ธนบัตรชนิดราคา 1, 5, 10, 50, 100 ดอลลาร์; 500 และ 1,000 ดอลลาร์ใน ค.ศ. 1979 และ 10,000 ดอลลาร์ใน ค.ศ. 1989 ธนบัตรบรูไนเขียนบอกมูลค่าเป็นภาษาอังกฤษและภาษามลายู

ดอกไม้ประจำชาติ ดอกซิมปอร์ (Simpor) หรือที่รู้จักกันในชื่อ ดอกส้านชะวา(Dillenia)
ดอกไม้ประจำท้องถิ่นบรูไน ที่มีกลีบขนาดใหญ่สีเหลือง หากบานเต็มที่แล้วกลีบดอกจะมีลักษณะคล้ายร่ม พบเห็นได้ตามแม่น้ำทั่วไปของบรูไน มีสรรพคุณช่วยรักษาบาดแผล หากใครแวะไปเยือนบรูไน จะพบเห็นได้จากธนบัตรใบละ 1 ดอลลาร์ ของประเทศบรูไน

สัตว์ประจำชาติ เสือโคร่ง สัตว์กินเนื้อขนาดใหญ่นอกจากจะได้รับการเลือกให้เป็นสัตว์ประจำชาติของพม่าแล้ว ยังถูกเลือกให้เป็นสัตว์ประจำชาติบรูไนอีกด้วย โดยลักษณะทางภูมิศาสตร์ของประเทศบรูไนซึ่งมีภูเขาและป่าไม้อยู่เป็นจำนวนมาก มีประชากรไม่หน่าแน่น สัตว์ป่าจึงไม่ถูกรบกวน จึงสามารถพบเสือโคร่งสายพันธุ์เอเชียจำนวนมาก และได้ถูกเลือกให้เป็นสัตว์ประจำชาติของประเทศบรูไนในที่สุด
อาหารที่ขึ้นชื่อในบรูไน
เบเรียนี่ (ข้าวผัด) อาหารเจวันนี้ขอนำเสนอเป็นจานเด็ดสุดอร่อยจากลูกหนำเลี๊ยบที่หลายคนนิยมนำไปผัดกับหมูสับรับประทานคู่กับข้าวต้ม แต่วันนี้ขอเสนอเป็นข้าวผัดหนำเลี๊ยบสไตล์จีนที่ทำง่ายมาก ๆ มีวัตถุดิบไม่กี่อย่าง ใช้เวลาไม่นานก็ได้อาหารเจและมังสวิรัติจานอร่อยไว้รับประทานแล้ว ไม่ต้องเบียดเบียนเนื้อสัตว์เลยด้วย
ซัมบัล าจัก (น้ำพริกบผัด) เป็นอาหารที่ปรุงจากพริก มีลักษณะคล้ายน้ำพริกในอาหารไทย เป็นที่นิยมในประเทศอินโดนีเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์ และภาคใต้ของฟิลิปปินส์ และศรีลังกา รวมทั้งในเนเธอร์แลนด์และซูรินามซึ่งได้รับอิทธิพลจากอาหารชวา ทำได้ทั้งจากพริกขี้หนูและพริกอื่น ๆ บางชนิดมีรสเผ็ดมาก ซัมบัลเป็นคำที่มีรากศัพท์มาจากคำในภาษาชวาว่า ซัมเบ็ล ซึ่งยืมมาใช้ในภาษามาเลเซียและภาษาอินโดนีเซีย
พอนดอกซาริวัง (ข้าวหน้าไก่ย่าง) ข้าวหน้าไก่ย่างถือเป็นอาหารของชาวมุสลิมที่ ได้รับรองจากองค์กรโลก ฮาลาล ที่เป็นเครื่องหมายที่เเสดงบอกถึงการได้รับรองความปลอดภัยว่าสามารถรับประทานอาหารนี้ได้โดยไม่ผิดศาสนานั้นเอง
อัมบูยัต(Ambuyat) เป็นอาหารพื้นเมืองในเกาะบอร์เนียว ในรัฐซาราวักและบรูไน และถือเป็นอาหารประจำชาติของบรูไนด้วย โดยทำจากแป้งของปาล์มสาคูที่ขูดออกจากลำต้นมากวนให้สุกซึ่งจะเหนียวเหมือนแป้งเปียก ใช้จันดัสซึ่งคล้ายตะเกียบแต่ปลายข้างหนึ่งติดกัน จุ่มแล้วม้วนก้อนแป้งกินเป็นคำๆ โดยรับประทานคู่กับซอสเปรี้ยวที่เรียกชาชะห์ทำจากผลบินไยหรือผลลำพู นอกจากนั้นยังกินกับซัมบัล เตอราซี หรือซัมบัล เติมโปยก (น้ำพริกทุเรียนดอง) และกับข้าวอื่นๆ ได้แก่ ผัดใบมัน ผักบุ้งผัดกะปิ ปลาย่าง เนื้อย่าง เป็นต้น ในอดีตใช้เป็นอาหารเมื่อขาดแคลนข้าว
สถานที่สำคัญในประเทศบรูไน
มัสยิดโอมาร์ อาลี ไซฟัดดิน (Omar Ali Sifuddin Mosque)
มัสยิดโอมาร์ อาลี ไซฟัดดิน มัสยิดเก่าแก่อันเป็นที่เคารพสักการะของชาวบรูไน ตั้งอยู่ใจกลางกรุงบันดาร์เสรีเบกาวัน มัสยิดหลังนี้ออกแบบและดำเนินการสร้างโดยสุลต่านโอมาร์ อาลี ไซฟัดดินที่ 3 พระราชบิดาของสุลต่านองค์ปัจจุบัน และสร้างเสร็จในปีค.ศ. 1958 มัสยิดนี้เป็นมัสยิดเก่าแก่อันเป็นที่เคารพสักการะของชาวบรูไนตั้งอยู่ใจกลางกรุงบันดาร์ เสรีเบกาวัน มัสยิดหลังนี้ออกแบบและดำเนการสร้างโดยสุลต่านโอมาร์ อาลี ไซฟัดดินที่ 3 ผู้ทรงได้รับการยกย่องว่าเป็นสถาปนิกสมัยใหม่ของบรูไน และเป็นพระราชบิดาของสุลต่านองค์ปัจจุบัน และมัสยินนี้สร้างเสร็จในปี ค.ศ. 1958 มีความงดงามจนได้ชื่อว่า "มินิทัชมาฮาล"
พระราชวังหลังคาทองคำ อิสตาน่า นูรูลอิมาน (Istana Nurualiman)
สถานที่ประทับใจของสุลต่าน ใช้สำหรับต้อนรับบุคคลสำคัญจากต่างแดน และยังเป็นทำเนียบรัฐบาล ตั้งอยู่ในกรุงบันดาร์เสรีเบกาวัน ซึ่งได้รับการยกย่องว่าเป็นพระราชวังที่ใหญ่ที่สุดในโลก (โดยกินเนสส์บุ๊กเวิลด์เรคคอร์ด) มีเอกลักษณ์ทางสถาปัตถยกรรมที่โดเด่นทั้งภายในและภานนอก มีพื้นที่ 19,400 ตารางเมตร หลังคาโดมทรงกลมสีทอง มองดูคล้ายกับมัสยิดในศาสนาอิสลาม เปิดให้เข้าชมหลังผ่านช่วงเราะมะฎอนไปแล้ว
หมู่บ้านกลางน้ำกัมปงไอเยอร์ (Kampong Ayer)
หมู่บ้านกลางน้ำที่ใหญ่ที่สุดในแถวอาเซียน สามารถเดินทางไปทางเรือโดยสาร เป็นชุมชนที่บ้านเรือนและทางเดินเชื่อมต่อกันด้วยไม้ ภายในพื้นที่มัสยิด โรงเรียนและสถานพยาบาล มีอำนาจบริหารเป็นเอกเทศ ถือได้ว่าสะท้อนวัฒนธรรมและวิถีชีวิตของมนุษย์กับสายน้ำได้อย่างชัดเจน
อุทยานแห่งชาติอูลู เต็มบูรง (Ulu Temburong National Park)
เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ อยู่ทางใต้ของเขตบูรง มีลักษณะเป็นป่าดิบชื้นขนาดใหญ่ สามารถพบพันธุ์ไม้และสัตว์หายากหลากชนิด เช่น ลิงจมูกยาว หรือผีเสื้อราชาบรูก ได้เพียงที่นี่ที่เดียวบนเกาะบอร์เนียว เหมาะสำหรับศึกษาสภาพแวดล้อมและธรรมชาติ

ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น